31 มกราคม 2552

งานแถลงข่าว OTOP Thai Touch: มิติสัมผัสตราสินค้าไทย

กำหนดการแถลงข่าว
OTOP Thai Touch: มิติสัมผัสตราสินค้าไทย
จัดโดย
นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด (IMC) รุ่นที่ 10
ศูนย์ศึกษาและวิจัยตราสินค้า
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ร่วมกับ
สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดปทุมธานี
วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 14.00 น. - 15.30 น.
ณ โถงอาคาร 10 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


13.30 - 14.00 น.
สื่อมวลชนลงทะเบียน

14.00 - 14.10 น.
พีธีกรกล่าวต้อนรับสื่อมวลชนและแขกผู้มีเกียรติเข้าสู่งาน

14.10 - 14.40 น.
เริ่มการแถลงข่าว พิธีกรเรียนเชิญผู้แถลงทั้ง 2 ท่านขึ้นบนเวที
แถลงข่าวร่วมกันโดย รองศาสตราจารย์ ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ในประเด็น : คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผลักดันนักศึกษาถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การปฏิบัติจริง

กับการเปิดตัว 7 Wonders OTOP Showcase และ
นายปรีชา บุตรศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
ในประเด็น : 7 ผลิตภัณฑ์ OTOP สู่การยกระดับตราสินค้า

14.40 - 14.50 น.
พิธีกรกล่าวสรุป พร้อมเรียนเชิญถ่ายภาพร่วมกัน

14.50 - 15.00 น.
ปิดการแถลงข่าว พิธีกรเรียนเชิญสื่อมวลชนสัมภาษณ์ตามอัธยาศัย

ขิงผงสำเร็จรูป OTOP อำเภอลาดหลุมแก้ว

25 มกราคม 2552 เวลาน่าจะตอนบ่าย พวกเรามีนัดกับกลุ่ม OTOP ออมทรัพย์ผลิตชาเชียวใบหม่อน ของอำเภอลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี การออกเดินทางไปพบ คุณจันจิรา (พี่ตา) เป็นประธานกลุ่ม เราได้รับมอบหมายให้ทำการสื่อสารการตลาด (IMC) ของขิงผงสำเร็จรูป ซึ่งกว่าจะไปถึงนะค่ะ ขอบอกว่าหลงตลอดทางเลยค่ะ แต่พี่ตาของเราดีมาก รู้แน่ว่าเราคงหลงทาง โทรบอกทางกันตั้งแต่ออกจนถึงเลย พี่ตาเราน่ารักที่สุด เมื่อเราไปถึงมีการต้อนรับเป็นอย่างดี วันที่เราไปพบพี่ตานั้นเราก็ได้พูดคุยถึงตัวผลิตภัณฑ์ OTOP ความเป็นมาของกลุ่มเริ่มขึ้นมาได้ยังไง



ตั้งแต่การเลือกซื้อวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิตและรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ ทำให้พวกเรารู้ได้เลยว่ากว่าจะออกมาเป็น 1 ถุง ค่อนข้างลำบากพอสมควร คุยไปมารวมไปถึงเรื่องส่วนตัวพี่ตาไปเลย สนุกดีค่ะ เราคุยกันอยู่ประมาณ 1.30 ชั่วโมง หลังจากนั้นพี่ตาพาชมสถานที่ที่ผลิตขิงผงสำเร็จรูป ถึงตอนนี้เกิดเหตุการณ์ที่เราคิดไม่ถึง บวกกับความพยายามของพี่ตา ซึ่งสถานที่คุยกับสถานที่ผลิตอยู่คนละที่กัน เราต้องเดินเข้าไปอีกที่หนึ่ง เมื่อถึงที่หมาย ปรากฏว่าประตูล็อคค่ะ ไม่สามารถเข้าไปชมสถานที่นั้นได้ เนื่องจากกุญแจที่จะไขเข้าไปในห้องนั้นอยู่กับน้องชาย ซึ่งน้องชายไปต่างจังหวัดยังไม่กลับมา และทันใดนั้นเอง ความพยายามของพี่ตาที่อยากจะให้พวกเราดูอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ได้ แกเลยใช้คีมหนีบอันใหญ่มากมาปลดล็อคกุญแจออกอย่างง่ายดาย (“เป็นไงความบ้าพลังของพี่”) พวกเรายืนอึ้งดูด้วยความพยายามของพี่ตา บอกได้คำเดียวเลยว่าน่าประทับใจมากค่ะ

พอเราดูเสร็จ พี่ตาก็ใช้กุญแจตัวใหม่ล็อคประตูใหม่เลย พี่ตาบอกกับเราว่า “ทำเพื่อน้องๆทุกคน” หลังจากนั้นเราก็อุดหนุนพี่เขาด้วยการซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆที่อยู่ในกลุ่ม อาทิ เช่น ขิงผงสำเร็จรูป ชาใบหม่อน กระชายดำผง กันมาหลายถุง แต่ขอบอกค่ะ เมื่อชิมแล้วอร่อยจริง ๆ ค่ะ คราวหน้าไปจะซื้อกลับมาอีกแน่นอนค่ะ




ติดตามดิจิตอลอัลบั้ม OTOP Thai Touch ของกิจกรรมกลุ่ม OTOP ออมทรัพย์ผลิตชาเชียวใบหม่อน ได้ที่นี่เลยจ้า.. http://otopthaitouch.multiply.com/photos/album/9/9

28 มกราคม 2552

OTOP สบู่ถ่าน ของดีธัญบุรี



อำเภอธัญบุรี ชื่อนี้หลาย ๆ คนที่ขับรถผ่านเส้นทางนั้นบ่อย ๆ คงเป็นเพียงแค่ทางผ่านจากจังหวัดปทุมธานีเพื่อเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวใน จังหวัดนครนายก แต่ อ.ธัญบุรี มีอะไรมากกว่านั้น ทีมงานของเรานั้นได้นัดหมายในการไปเยี่ยมชมกลวิธีการผลิตสบู่ถ่านสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์ OTOP จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพันธุ์ไพรสมุนไพร อำเภอธัญบุรี ซึ่งการเดินทางใช้เส้นทาง มอเตอร์เวย์จากรามอินทรา ตัดออกเส้น นครนายก คลอง 5และขับตรงต่อไปอีกเพียงนิดเดียว ก็ถึงที่หมาย โดยเมื่อทีมงานไปถึงทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพันไพรสุนไพรกำลังขมักเขม้นกับการทำผลิตภัณฑ์ OTOP ของชุมชนอยู่โดยทางพี่ ๆ ได้เตรียมอาหารกลางวันไว้คอยต้อนรับทางทีมงานได้อิ่มหนำสำราญอย่างคาดไม่ถึง นับได้ว่าเป็นมิตรไมตรีที่ทาง ทีมงานจะไม่ลืมอย่างแน่นอน



หลังจากที่อิ่มอร่อยกับอาหารกันแล้ว ทางทีมงานได้มาดูกลวิธีการทำ สบู่ถ่านสมุนไพร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เลื่องชื่อของอำเภอธัญบุรี โดยที่ทางพี่ ๆ วิสาหกิจชุนชน ได้เปิด โอกาสให้ทีมงานได้ทดลองทำ สบู่ถ่านสมุนไพรด้วยตั้วเอง ตั้งแต่ ขั้นตอนแรก จนถึงขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งจากการที่ได้ใกล้ชิดกับกลวิธีการทำอย่างลึกซึ้ง ทำให้ทางทีมงานมีความเห็นเหมือนกันว่า สบู่ถ่าน นั้นมีประโยชน์ อย่างมากมายและคาดไม่ถึงจริง ๆ


ทีมงานได้ใช้เวลาอยู่กับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพันธุ์ไพรสมุนไพร ตลอดทั้งวันทำให้ได้รู้ว่า ทางกลุ่ม ไม่ได้มีเพียง ผลิตภัณฑ์ OTOP อย่างสบู่สมุนไพร แต่ยังมีการทำขนมต่างๆมากมายหลายชนิด เช่น ข้าวเกรียบ, เค้กช็อคโกแลต, ทอฟฟี่เค้ก และที่ไม่ใช่ของกินอย่าง กระเป๋าสะพาย การบูรที่ใช้ดับกลิ่นซึ่งมีการทำแพ็คเกจอย่างสวยงาม

ซึ่งจากการที่ได้มีการพูดคุยกับ พี่วันเพ็ญ แสงทองย้อย หัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจ ชุมชนพันธุ์ไพรสมุนไพร ทำให้ทางทีมงานได้รับรู้ถึงความฝันอันยิ่งใหญ่ที่อยากจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของ อำเภอธัญบุรี จากความมุ่งมั่นและตั้งใจ ผลิตภัณฑ์ OTOP ของอำเภอธัญบุรี จะสามารถก้าวขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ชั้นนำของประเทศไทยได้อย่างแน่นอน
รับชมดิจิตอลอัลบั้ม OTOP สบู่ถ่านเพิ่มเติม คลิกเลยครับ ใน OTOP Thai Touch http://otopthaitouch.multiply.com/photos/album/8/8

24 มกราคม 2552

กลุ่มอาชีพสตรีคลองควาย OTOP อ.สามโคก ไปมาแว้วววว......


หลังจากได้ไปเยี่ยมกลุ่มอาชีพสตรีคลองควาย อ.สามโคก OTOP ของดี จังหวัดปทุมธานี ตอนแรกคิดว่าไกลมาก ๆ แต่ที่ไหนได้อยู่ไม่ใกล้ๆนี่เอง เพียบแค่เลยที่ว่าการอำเภอสามโคกไปอีกแค่ 10 นาทีเอง

พอไปถึงกลุ่มอาชีพสตรีคลองควาย พบกลุ่มแม่บ้านจำนวน 10 คน นั่งแพ็คกาละแม OTOP กันอย่างสนุกสนาน โดยการนำของพี่อำนวยและชาวคณะ หลังจากทำความรู้จักถามถึงความลำบากในการเดินทางหลังจากจบการทักทายต่างๆ กลุ่มนักศึกษาไม่รอช้าแฝงตัวเข้าไปในกลุ่มแม่บ้านทันที แต่ละคนลงมือช่วยกลุ่มแม่บ้านแพ็คกาละแมกันอย่างสนุกสนาน
พร้อมกับการสอบถามถึงข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ OTOPกระยาสารทของทางกลุ่ม แพ็คไปคุยไปหันมาดูอีกทีกาละแมที่จะต้องแพคลงกล่องไม่ได้ลงกล่องเสียแล้ว กาละแมได้หายเข้าปากนักศึกษาอย่างไม่ขาดสาย หลังจากแพ็คกาละแมเสร็จถึงคราวพระเอกของวันนี้การแพ็คกระยาสารท เหมือนอย่างเช่นเคย แพ็คไปกินไป สนุกสนานบวกอิ่มอร่อย พูดแล้วก็ยังนึกถึงความอร่อยไม่หาย

และจากการที่ได้ลงไปสอบถามข้อมูลต่าง ๆ จากกลุ่มสตรีคลองควายครั้งนี้ ได้รับการบอกจากกลุ่ม OTOP ว่า พวกเราสามารถช่วยงานต่าง ๆ ของพวกเขาได้เป็นอย่างดี น่าจะอยู่ทำงานด้วยกันที่นี่เสียเลย เพราะวันนี้ที่ได้มาทดลองงานถือว่าผ่านโปร OTOP แล้ว (หุ ๆ .....เรียนจบมีอาชีพรองรับแล้ว)

รับชมดิจิตอลอัลบั้ม OTOP Thai Touch ของกลุ่มอาชีพสตรีคลองควาย ได้ที่นี่ http://otopthaitouch.multiply.com/photos/album/7/7

ขนมทองม้วนสูตรโบราณ OTOP กลุ่มอาชีพสตรีบางพูน

เดินทางออกจากแยกรังสิต เลี้ยวซ้ายไปเพียงแค่ไม่เกิน 2 กม. เองครับ อยู่ใกล้กับสตูดิโอเวิร์คพ้อยต์ กลุ่มอาชีพนี้ตั้งอยู่ที่หมู่ 6 ตำบลบางพูน อำเภอเมือง ที่มีความหลากหลายของกลุ่มอาชีพ


วันนี้ทีมงานได้มาเยี่ยมในเช้าวันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม ประธานกลุ่ม OTOP โดย คุณสุชาดา วัชโรทยาน ได้ให้การต้อนรับอย่างดีเยี่ยม ถึงประมาณ 9 โมงเช้า กลุ่มอาชีพกำลังขมักเขม้นกับการผสมสูตรทองม้วนกันอยู่ เลยเข้าไปร่วมชมกระบวนการผลิตตามขั้นตอนอันหอมกรุ่นไปด้วยเครื่องเทศอันมีคุณประโยชน์ พร้อมกับเชิญชวนให้ทีมงาน นำโดยคุณถนอมศรี พิรานุศิษฎ์ ได้ขึ้นไปนั่งผลิตทองม้วน OTOP ด้วยตนเอง งานนี้ มีทั้งอิ่ม และได้เข้าใจถึงกระบวนการผลิตไปตาม ๆ กัน


นอกจากนี้แล้วทางเจ้าหน้าที่ของทางศูนย์ ยังได้ให้ขึ้นไปเยี่ยมชมกิจกรรมที่ศูนย์การเรียนรู้ตำบลบางพูน ที่มีกิจกรรมอันหลากหลาย เช่น นวดจับเส้นแก้ปวดเมื่อย การเรียนการสอน กศน. ศูนย์คอมพิวเตอร์ ศูนย์สงเคราะห์เด็กเล็ก หรือห้องออกอากาศผ่านหอกระจายข่าว และอีกมากมายที่ทำให้ชุมชนนี้เกิดความเข้มแข็ง ทำให้ชุมชนสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง


ก่อนจะกลับออกมาทางทีมงานยังได้อุดหนุนกลุ่มอาชีพสตรีด้วยทองม้วนทั้งรสหวานและรสเค็มอันลือชื่อ “ทองม้วนบางพูน” OTOP ของดีอำเภอเมืองปทุมธานี กว่า 10 ถุง และหวังว่าทีมงานจะกลับไปเยี่ยมเยียนอีกเร็ว ๆ นี้


รับชมดิจิตอลอัลบั้ม OTOP Thai Touch ของกลุ่มอาชีพสตรีบางพูนได้เพิ่มเติม ที่นี่ http://otopthaitouch.multiply.com/photos/album/6/6

ตามไปดูกลุ่มรองเท้า TOP PLATE

ได้ไปเยี่ยมชมมาแล้ว อยู่ใกล้ ๆ นี้เอง ถึงก่อนมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (รังสิต) ลง Toll Way แล้ว ชิดซ้ายเข้าทางคู่ขนาน สุดรั้วโรงงานไทยเมล่อน แล้วซ้ายประมาณ 200 เมตร เป็นอาคารพาณิชย์ อยู่ซ้ายมือ หัวหน้ากลุ่ม (พี่ศุภการ) OTOP อ.คลองหลวง น่ารักมาก ต้อนรับอย่างดี

สำหรับสินค้านี้มีให้เลือกมากมายหลายแบบทั้งชาย และ หญิง ทั้งใส่ทำงาน และใส่เที่ยว ส่วนมากทำงานหนังวัว หนังช้าง หนังนกกระจอกเทศ ออกแบบได้สวยมาก ราคาก็เป็นกันเองสุด ๆ และได้เห็นกระบวนการผลิตที่ประณีตมาก เป็นการเย็บด้วยมือทั้งสิ้น เป็นเคล็ดลับที่ทำให้สินค้าคงทนถาวร พอเดินไป เดินมาที่ร้าน ได้เห็นกล่องรองเท้ายี่ห้อดัง หลายยี่ห้อกองอยู่มาก
แล้วความลับก็เปิดเผย ว่า รองเท้ายี่ห้อดัง ๆ หลายยี่ห้อก็มาจ้างที่นี่ผลิตให้ เช่น Dockers เป็นต้น หลังจากได้เยี่ยมชมสักพัก ก็มีลูกค้าเข้ามาซื้อรองเท้า โดยลูกค้ารายนี้เท้ามีปัญหา จึงหาซื้อรองเท้าตามขนาดและแบบตามที่ต้องการไม่ได้ จึงมาให้ที่นี่ตัดให้ จึงทำให้เราได้เห็นกระบวนการตัดรองเท้าของพี่ศุภการแบบสด ๆ ทั้งกระบวนการวัดเท้า และ กระบวนการวาดแบบ ตามความต้องการของลูกค้า (ตอนแรกนึกว่า im adidas) เจ๋งจริง ๆ

คุยกับพี่ศุภการอยู่พักใหญ่ เลยหิวจึงขอตัวกลับ แต่ก่อนกลับทีมงานที่ไปเยี่ยมชม ต่างก็ต้องเสียเงินไปตาม ๆ กัน โดยอุดหนุนรองเท้า OTOP ทางกลุ่มฯ พี่เค้ามาแค่ 7 คู่เอง



รับชมดิจิตอลอัลบั้ม OTOP Thai Touch ของกลุ่มนี้ได้ใน

เจาะลึกกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ประดิษฐ์จากเครื่องเทศ

จากการได้เข้าไปเยี่ยมชมกับ OTOP ผู้ผลิต "ผลิตภัณฑ์ประดิษฐ์จากเครื่องเทศ" ได้รับการต้อนรับอย่างดีและเป็นกันเอง จากพี่ ไขแสง ร่มโพธิ์ทอง ซึ่งจากการเข้าพบในครั้งนี้ ได้รับความรู้ในเรื่องการผลิตงานที่เรียกกันว่างาน Handmade ซึ่งได้สัมผัสอย่างลึกซึ้งว่างานชนิดนี้ นั้นไม่ได้ผลิตกันง่าย ๆ ต้องมีความพิถีพิถันอย่างยิ่ง





ตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกโครงสร้างต้องมีความละเอียด ในการคัดเลือกทั้งขนาดและวิธีการตัดไม้เป็นสำคัญ ส่วนในด้านงานฝีมือภายในโครงสร้างจะต้องมีการคัดผู้ที่จะสรรค์สร้างโดยผู้ที่มีความสามารถเฉพาะตัว โดยต้องมีการคัดเลือกสิ่งที่จะใส่ไว้ในกล่องอย่างละเมียดละไม เพื่อให้เกิดงานที่ต้องมีความประณีตและสวยงามโดนใจผู้ที่รักในงานฝีมือที่มีเฉพาะตัวอย่างนี้ การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องเทศก็ไม่ใช่งานที่ง่าย ๆ ต้องมีการใช้วิธีการเฉพาะตัวที่จะทำให้สินค้าไม่มีปัญหาในภายหลัง โดยปัจจุบัน สามารถเก็บรักษาด้วยกลวิธีที่ทางกลุ่มได้ศึกษามาเป็นเฉพาะทางอย่างดีและไม่เป็นอันตรายด้วย

พี่ ๆ ทีมงานก็ให้การพูดคุยกันอย่างสนุกสนานและเต็มที่กับทีมงานชาวมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และได้รับความรู้กันไปอย่างเต็มที่ ซึ่งหากคิดว่างาน OTOP Handmade เป็นสินค้าที่คิดว่าราคาแพงแล้ว หากได้สัมผัสวิธีการประดิษฐ์แล้วจะเข้าใจว่ามันไม่ใช่ราคาที่แพงอีกเลย และนอกจากนี้ยังเป็นงานที่ส่งผลถึงคุณค่าในส่วนลึก ๆ ได้อีกด้วยและหากเพื่อนๆต้องการที่จะไปสัมผัสหรือต้องการเยี่ยมชมกับผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าหลงใหลและดึงดูดในตัวเองอย่างนี้ OTOP Thai Touch: มิติสัมผัสตราสินค้าไทย แนะนำไปชมที่ สวนจตุจักรโครงการ 15 ซอย 1 ได้


รับชมดิจิตอลอัลบั้ม OTOP Thai Touch ของกลุ่มนี้ได้ใน http://otopthaitouch.multiply.com/photos/album/4/4

19 มกราคม 2552

ม.หอการค้าไทย จัด WORKSHOP “กลยุทธ์การสร้างตราสินค้า และการสื่อสารตราสินค้า OTOP” นำองค์ความรู้ถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการ


คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดปทุมธานี จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “กลยุทธ์การสร้างตราสินค้าและการสื่อสารตราสินค้า OTOP” เพื่อเสริมสร้างความรู้ ยกระดับผู้ประกอบการในการสร้างตราสินค้า รวมทั้งให้เกิดการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ระหว่างผู้ประกอบการและนักศึกษาปริญญาโท สาขา นิเทศศาสตร์การตลาด ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเข้าร่วมทำกิจกรรม Workshop ในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก


งานนี้ได้รับเกียรติจากอาจารย์ภูสิต เพ็ญสิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทนาโนเสิร์ช จำกัด และผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการค้า-การลงทุนแผนใหม่ (ITDC) บรรยายเรื่อง “กลยุทธ์และการวิเคราะห์สถานการณ์ทางธุรกิจ” และอาจารย์ปริญญา ชุมรุม อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บรรยายเรื่อง “การจัดทำแผนการสื่อสารการตลาดสินค้า OTOP” พร้อมกันนี้ผู้ประกอบการและนักศึกษายังได้ร่วมฝึกปฏิบัติการเขียนแผนการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ที่เล่าเรียนมาถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการเพื่อนำไปปฏิบัติจริง โดยบรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนาน และร่วมมือร่วมใจกันระหว่างนักศึกษาและผู้ประกอบการที่ช่วยกันคิดและวางแผนอย่างเต็มความสามารถ ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ในการอบรมครั้งนี้มีผู้เข้าอบรมทั้งหมด 44 ท่าน โดยแบ่งเป็นนักศึกษาปริญญาโท สาขานิเทศศาสตร์การตลาดจำนวน 30 ท่าน และผู้ประกอบการ OTOP ระดับ 3 ดาว จาก 7 อำเภอ ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 7 กลุ่ม ได้แก่

  1. กลุ่มขนมทองม้วนโบราณ ผลิตภัณฑ์ทองม้วนรสเค็ม ต. บางพูน อ.เมือง

  2. กลุ่มอาชีพสตรีคลองควาย ผลิตภัณฑ์กระยาสารท ต.คลองควาย อ.สามโคก

  3. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อผลิตชาเขียวใบหม่อน ขิงผงสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ขิงผงสำเร็จรูป ต.คลองพระอุดม อ.ลาดหลุมแก้ว

  4. กลุ่มอาชีพสหกรณ์ผลิตรองเท้าหนังแท้หมู่บ้านไวท์เฮาส์ ผลิตภัณฑ์รองเท้าหนัง ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง

  5. กลุ่มอาชีพรัตน์ห้า ผลิตภัณฑ์ขนมชะมดงาดำ ต.นพรัตน์ อ.หนองเสือ
    วิสาหกิจชุมชนไพรสมุนไพร

  6. ผลิตภัณฑ์สบู่ถ่านสมุนไพร ต.บึงน้ำรักษ์ อ.ธัญบุรี

  7. กลุ่มผลิตภัณฑ์ประดิษฐ์จากเครื่องเทศ ต.ลำไทร อ.ลำลูกกา
โดยมีนายเสริมพงษ์ รัตนะ พัฒนาการจังหวัดปทุมธานี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทิมา เขียวแก้ว ผู้อำนวยการหลักสูตรประชาสัมพันธ์ธุรกิจ และอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ให้เกียรติเป็นประธาน ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และจังหวัดปทุมธานี ได้กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ประกอบการ OTOP ครั้งที่ 2 ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2552 ในหัวข้อ “เทคนิคการนำเสนอผลงานอย่างมืออาชีพ (Presentation Technique)” โดย อาจารย์ตรรกะ เทศศิริ ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอน์สไตน์ จำกัด

และสามารถติดตามโฟโต้อัลบั้มภาพในกิจกรรมดังกล่าวได้ในhttp://otopthaitouch.multiply.com/photos/album/2/2

ทำไมต้อง OTOP Thai Touch

การสื่อสารการตลาด ที่ระบุไว้ว่า จุดสัมผัส (Touch Point) คือ ตราสินค้า ที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการของผลิตภัณฑ์ OTOP กับผู้บริโภค ทำให้คณะนักศึกษาปริญญาโท รุ่นที่ 10 สาขาวิชานิเทศศาสตรการตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ศึกษาอยู่ในวิชาสัมมนาสื่อสารการตลาด (Seminar in Marketing Communication) ที่ให้นักศึกษาสามารถสร้างสรรค์ไอเดียต่อการตราสินค้า หรือสามารถสื่อสารตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ OTOP ออกไปสู่ผู้บริโภคได้

ทำให้คำว่า "OTOP Thai Touch: มิติสัมผัสตราสินค้าไทย" ได้มาจากการลงมติร่วมกันของคณะนักศึกษาในสาขาวิชาดังกล่าว โดยมีที่มาจากอะไรบ้าง ดังนี้เลย...

OTOP : ผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
Thai : เสริมสร้างผลิตภัณฑ์ของความเป็นไทย
Touch: จุดเชื่อม หรือจุดสัมผัสระหว่างผลิตภัณฑ์ OTOP และผู้บริโภค

สัมผัส OTOP Thai Touch ผ่าน Social Network ได้ที่ไหนบ้าง
http://otopthaitouch.blogspot.com หน้าบล็อกส่วนตัวของโครงการ
http://otopthaitouch.multiply.com หน้าบล็อกในการรับชมภาพกิจกรรมดีๆ
http://twitter.com/otopthaitouch ติดตามทุกลมหายใจผ่านอัพเดดด่วน
otopthaitouch@gmail.com ติดตาม สอบถามความเคลื่อนไหว

ยังไม่หมดแต่เพียงเท่านี้ ยังมีกิจกรรมดี ๆ อีกเยอะที่รอคุณอยู่ แต่จะกิจกรรมเป็นอย่างไร รูปแบบจะเป็นแบบใด มีอะไรบ้างที่น่าติดตาม พบกันเร็ว ๆ นี้

หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์: OTOP


ความเป็นมาของรัฐบาลเมื่อหลายปีก่อนที่ได้ริเริ่ม "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์: OTOP" เป็นแนวคิดที่ต้องการให้แต่ละหมู่บ้าน หลากหลายตำบล ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้มีผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง โดยใช้วัตถุดิบหรือทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น และสรรค์สร้างจากภูมิปัญญาจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้

จากความคิดริเริ่มของผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีอยู่ในท้องตลาด ทำให้นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รุ่นที่ 10 ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของสินค้า แต่ด้วยสภาพการแข่งขันของตลาดที่มีสูงขึ้น ที่ทำให้เหล่าผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ต้องเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน และความต้องการของตลาดมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นแรงผลักดันที่ทำให้เกิด "การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการ: Integrated Marketing Communications (IMC)" ผ่านผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ขึ้น เพื่อเป็นสิ่งที่จะทำให้สินค้าที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น ให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP สามารถเรียนรู้ทำการสร้างตราสินค้าได้ด้วยตนเอง และสามารถสื่อสารตราสินค้าออกสู่ท้องตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ